วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

DOS (Disk Operating System) คืออะไร
ระบบปฏิบัติการในรูปแบบของตัวอักษร (Text Mode) ถึงแม้ว่าปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้ Windows (ระบบรูปภาพ หรือ Graphics Mode) แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนการใช้งาน DOS ก็ยังถือว่ามีส่วนสำคัญไม่น้อย ตัวอย่างเช่น การติดตั้ง Windows การแบ่ง harddisk แต่ละ drive (Partition Harddisk) อาจจำเป็นต้องมีการ boot เข้าระบบดอสก่อน และเช่นเดียวกับบางบริษัทที่มีใช้งานในระบบเครือข่าย Novell Netware ก็ยังจำเป็นต้องทำงานใรระบบ DOS เช่นกันชื่อ DOS บางท่านอาจเคยเห็นชื่อที่เป็น MS-DOS นั่นหมายถึง Microsoft Disk Operating System (บริษัทไมโครซอร์ฟเป็นผู้ผลิต)ความยาวของชื่อ-นามสกุล ไฟล์ความแตกต่างที่เห็นในชัดของชื่อไฟล์ในระบบ DOS กับ Windows คือ ความยาวของชื่อไฟล์ Windows สามารถตั้งชื่อให้ยาวได้มากถึง 255 ตัวอักษร ส่วนในระบบ DOS ชื่อและนามสกุลของไฟล์จะถูกจำกัดได้เพียงชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร นามสกุลยาวไม่เกิน 3 ตัวอักษร ตัวอย่าง Readme.TXT (ชื่อไฟล์ Readme หลังจุดคือนามสกุล TXT)คำสั่งระบบ DOS พื้นฐานDIR (Directory) - คำสั่งในการแสดงรายชื่อไฟล์ รายชื่อไดเรกทอรี่ (Folder ใน windows ปัจจุบัน) ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)Dir - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ทั้งหมด พร้อมทั้งขนาดไฟล์ + วันเวลาอัปเดทล่าสุด Dir /p - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน ให้หยุดแสดงทีละหน้า (กรณีที่มีจำนวนไฟล์ยาวมากกว่า 1 หน้าจอ)Dir /w - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน Dir /s, - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ และไฟล์ที่อยู่ในไดเรกทอรี่ย่อยด้วย Dir /od - แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามวันที่อัปเดท Dir /n - แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามชื่อCLS (Clear Screen) - คำสั่งสำหรับลบหน้าจอออกDEL (Delete) - คำสั่งในการลบชื่อไฟล์ที่ต้องการ เช่น DEL readme.txt หมายถึงให้ลบชื่อไฟล์ README.TXT ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)Del readme.txt - ลบไฟล์ชื่อ readme.txt Del *.* - ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน Del *. - ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน เฉพาะไฟล์ที่ไม่มีนามสกุลMD (Make Directory) - คำสั่งในการสร้างไดเรกทอรี่ เช่น MD Photo จะได้ไดเรกทอรี่ C:PhotoCD (Change Directory) - คำสั่งในการเข้าไปในไดเรกทอรี่ (CD คือคำสั่งในการออกจากห้องไดเรกทอรี่)RD (Remove Directory) - คำสั่งในการลบไดเรกทอรี่ เช่น RD Photo (เราจะต้องอยู่นอกห้องไดเรอทอรี่ Photo)REN (Rename) - คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อชือ เช่น REN readme.txt read.me หมายถึงการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น READ.MEชนิดคำสั่ง DOSคำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ 1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น 2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้นรูปแบบและการใช้คำสั่งต่างๆ ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้ [d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B: [path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย [filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์ [.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล หมายเหตุ : ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง


คำสั่ง dos
1. DIR เป็นคำสั่งในการเรียกดูชื่อและรายละเอียดแฟ้มข้อมูล (file) ในแผ่น
รูปแบบ
d: ระบุไดร์ฟของแผ่น
filename ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการค้นหา
.ext ส่วนขยายของชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการค้นหา
/P แสดงทีละจอภาพ
/W แสดงเฉพาะรายชื่อ
ตัวอย่างคำสั่งDIR
C:>DIR
C:>DIR WINDOWS
C:>DIR WINDOWS /P
C:>DIR WINDOWS /W
C:>DIR D:
C:>DIR WINDOWS*.EXE
C:>DIR t*.???

2. PROMPT
เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนเครื่องหมายเตรียมพร้อม (DOS Prompt)รูปแบบ
โดยใช้เครื่องหมาย $ นำหน้าอักษรต่อไปนี้
ตัวอย่างคำสั่ง PROMPT
C:>PROMPT $n (แสดงไดร์ฟ)
C:>PROMPT $g (แสดงเครื่องหมาย >)
C:>PROMPT $d$q (แสดงวันที่และตามด้วยเครื่องหมาย = )
C:>PROMPT $p$g (แสดงชื่อpathและตามด้วยเครื่องหมาย > )
โครงสร้างต้นไม้ (tree structure)

3. MD หรือ MKDIR
เป็นคำสั่งในการสร้างไดเรคทอรี เป็นคำย่อมาจาก MaKe DIRectory
รูปแบบ
ตัวอย่างเช่น
D:>MD SUB1
D:>MD SUB2
D:>MD SUB1SUB11

4. CD
เป็นคำสั่งในการย้ายการทำงานเข้าสู่ไดเรคทอรี เป็นคำย่อมาจาก Change Directory
รูปแบบ
ตัวอย่างเช่น
D:>CD SUB1
D: SUB1>CD SUB11CD.. เป็นย้ายออกจากไดเรคทอรีปัจจุบัน 1 ขั้น
D:>CD SUB1SUB11 CD ย้ายกลับมาที่ root directory

5. RD
เป็นคำสั่งในการลบไดเรคทอรี ย่อมาจาก ReMove DIRectory
รูปแบบ
ตัวอย่างเช่น
D:>RD SUB2

6. TREE
เป็นคำสั่งในการขอดูโครงสร้างไดเรคทอรี
รูปแบบ
/F แสดงชื่อไฟล์ด้วย
ตัวอย่างเช่น
D:>TREE /F
D:>TREE SUB1

7. COPY CON
เป็นคำสั่งในการสร้างแฟ้มข้อมูล (โดยรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด แล้วจบด้วย
Ctrl+Z ตามด้วย Enter)
รูปแบบ
ตัวอย่างเช่น
D:>COPY CON SUB1test1.txt
พิมพ์ This is test

8. COPY
เป็นคำสั่งในการสำเนาแฟ้มข้อมูล
รูปแบบ
ตัวอย่างคำสั่ง
COPY D:>COPY SUB1test1.txt C:exam1.txt
สั่ง D:>DIR C:exam1.txt
D:>COPY C:exam1.txt C:exam2.txt
สั่ง D:>DIR C:D:>COPY C:ex???.txt
D:SUB1SUB11
สั่ง D:>DIR SUB1SUB11

9. REN
เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ไฟล์ยังคงเก็บอยู่ที่เดิม)
รูปแบบ
ตัวอย่างเช่น
D:>REN SUB1test1.txt new.txt
สั่ง D:>DIR SUB1
D:>REN SUB1SUB11*.txt *.bat
สั่ง D:>DIR SUB1SUB11

10. DEL
เป็นคำสั่งในการลบแฟ้มข้อมูล DELย่อมาจาก DELete
รูปแบบ
ตัวอย่างเช่น
D:>DEL C:exam1.txt
สั่ง D:>DIR C:
D:>DEL SUB1SUB11?????.bat
สั่ง D:>DIR SUB1SUB11

11. TYPE
เป็นคำสั่งในการขอดูข้อมูลในไฟล์
รูปแบบ
ตัวอย่างเช่น
D:>TYPE SUB1new.txt

12. DATE
เป็นคำสั่งในการขอดูหรือแก้ไขวันที่ ตามรูปแบบ mm-dd-yy

13. TIME
เป็นคำสั่งในการขอดูหรือแก้ไขเวลา ตามรูปแบบ hh-mm[:ss[.xx]]

14. VER
เป็นคำสั่งในการขอดูเวอร์ชันของ DOS ที่ใช้

15. VOL
เป็นคำสั่งในการขอดูชื่อแผ่น (volume label) และหมายเลขประจำ
แผ่นข้อมูล (serial number)

16. LABEL
เป็นคำสั่งในการขอดูหรือแก้ไขชื่อแผ่น
รูปแบบ
ตัวอย่างเช่น
D:>LABEL พิมพ์ diligence

ไม่มีความคิดเห็น: